17 ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209
เวลา 11.30 - 14.00 น.
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม
เด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อน
รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ
มีหลักการที่สำคัญคือการเตรียมความพร้อม การจัดการเรียนการสอน
และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กพิการในแต่ละระดับและแต่ละประเภท
และบำบัดฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เด็กพิการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการศึกษาจนสามารถพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
โดยจัดแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนในชั้นปกติตามเวลา
เป็นรูปแบบการจัดการศึกษา
พิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง
หรือผิดปกติน้อยมากเด็กพิการสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติเช่นเดียวกับเด็กปกติได้ตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน
รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด
2. รูปแบบการเรียนร่วม
เป็นรูปแบบการศึกษาพิเศษ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง หรือผิดปกติ
แต่อยู่ในระดับที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ การจัดการศึกษาพิเศษในรูปแบบนี้
มุ่งให้เด็กพิการได้รับการศึกษา
ในสภาวะที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุดเท่าที่แต่ละคนจะรับได้
3. รูปแบบเฉพาะความพิการ
เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีความพิการค่อนข้างมาก
หรือพิการซ้ำซ้อนเป็นรูปแบบที่มีสภาพแวดล้อมจำกัดมากที่สุด แบ่งเป็น 4 ระดับได้แก่
3.1
รูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ
3.2
รูปแบบการเรียนในโรงเรียนพิเศษเฉพาะทาง
3.3
รูปแบบการฟื้นฟูในสมรรถภาพในสถาบันเฉพาะทาง
3.4
การบำบัดในโรงพยาบาลหรือบ้าน
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น (ตาบอดสนิท)
หรือพอเห็นแสงเลือนรางและมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึงหนึ่งส่วนสองของคนสายตาปกติ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1.1 เด็กตาบอด หมายถึง
เด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก
แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนได้
1.2 เด็กสายตาเลือนลาง
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
การให้ความช่วยเหลือ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นครูจึงควรปฏิบัติต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นตามโอกาสและสถานการณ์ดังนี้
1.ไม่ควรพูดกับเด็กโดยคิดว่าเด็กหูหนวก
การที่เด็กมีความบกพร่องทางการเห็นไม่ได้หมายความว่าหูตึงไปด้วย
การใช้เสียงและน้ำเสียงที่มีความไพเราะอ่อนโยนจะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับเด็ก
เด็กจะรับรู้ถึงน้ำเสียงของคนพูดได้มากและรับรู้ถึงอารมณ์ของผู้พูดจากน้ำเสียงด้วย
1.1
หากต้องการจะพูดเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและเด็กที่อยู่ที่นั่นด้วย
ต้องพูดกับเขาโดยตรง ไม่ควรพูดผ่านคนอื่นเพราะคิดว่าเด็กจะไม่เข้าใจหรือรู้ได้ไม่หมด
1.2
ไม่ควรพูดแสดงความสงสารให้เด็กได้ยินหรือรู้สึก
1.3
หากครูเข้าไปในห้องที่มีเด็กอยู่ควรพูดหรือทำให้รู้ว่าครูเข้ามาแล้ว
1.4
การช่วยให้เด็กนั่งเก้าอี้ ให้จับมือวางที่พนักหรือที่เท้าแขนเด็กจะนั่งเองได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น